top of page

Platform
Cooperative

คืออะไร?

           แนวคิด “สหกรณ์แพลตฟอร์ม” Platform Cooperativism เป็นคำที่ เทรเบอร์ โชลส์(Trebor Scholz) นักวิชาการแห่งนิวสคูล (The New School) นิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา เป็นผู้ใช้เป็นคนแรกในบทความที่วิพากษ์แนวทางการดำเนินธุรกิจที่เรียกตัวเองว่า “เศรษฐกิจแบ่งปัน” หรือ Sharing Economy ในบทความชื่อ Platform Cooperativism vs. the Sharing Economy ซึ่งในทรรศนะของโชลส์ ได้วิจารณ์ว่าแท้จริงแพลตฟอร์มที่ดำเนินธุรกิจโดยอ้างว่ารูปแบบกิจกรรมทางเศรษฐกิจนั้นอยู่บนฐานของการแบ่งปันหรือการนำทรัพยากรที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ หรือยังใช้ประโยชน์ไม่เต็มประสิทธิภาพ มาสร้างให้เกิดผลิตภาพมากขึ้นนั้น แท้จริงมิได้มีลักษณะที่เป็นการแบ่งปันตามคำที่ใช้ โชลส์ชี้ให้เห็นถึงผลเสียของการระดมทุนด้วยโมเดลแบบ Start-Up ที่ทำให้เกิดปัญหาในระยะยาว กิจการจำนวนมากที่มุ่งหวังเพียงการเติบโตเพื่อสร้างมูลค่าของกิจการเพื่อตอบสนองนักลงทุนที่มาลงทุนในกิจการ มีเป้าประสงค์ในการระดมทุนและทำเงินจากการขายสัดส่วนความเป็นเจ้าของในกิจการ มากกว่าความสามารถในการทำกำไรของตัวกิจการกิจการเอง ส่งผลให้กิจการจำนวนมากประสบภาวะล้มละลายหลังระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์และนักลงทุนในระยะแรกได้กำไรจากการขายหุ้นเมื่อเข้าตลาดไปแล้ว โชลส์เสนอว่าการนำแนวคิดสหกรณ์มาใช้ในการระดมทุนเพื่อดำเนินกิจการโดยไม่หวังพึ่งเงินลงทุนของนักลงทุนรายใหญ่ไม่กี่ราย สามารถนำไปสู่ความยั่งยืนของกิจการได้ ทั่งยังทำให้การกระจายความมั่งคั่งเกิดขึ้น ลดความเหลื่อมล้ำทางรายได้ และส่งผลดีต่อระบบเศรษฐกิจในระยะยาว

          หลังจากนั้นได้มีกระแสการศึกษาผลกระทบของเศรษฐกิจแบ่งปันอย่างแพร่หลาย จนปัจจุบันโลกวิชาการในระดับสากลได้เลิกการใช้คำว่าเศรษฐกิจแบ่งปันและหันมาใช้คำว่าเศรษฐกิจแพลตฟอร์มแทน เนื่องจากมีหลักฐานเชิงประจักษ์ในหลายกรณีและหลายธุรกิจที่แสดงถึงผลกระทบเชิงลบ การผูกขาด การเอาเปรียบแรงงาน แต่เลี่ยงที่จะใช้คำที่ทำให้เกิดความรู้สึกดีอย่าง “แบ่งปัน” หรือ “Sharing” จากนั้นได้เริ่มมีขบวนการการเคลื่อนไหวทางสังคม มีการตั้งกลุ่มเพื่อศึกษาในแวดวงวิชาการ อาทิ Platform Cooperativism Consortium ที่ศึกษาและส่งเสริมการใช้แนวคิดสหกรณ์ในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจในรูปแบบที่เป็นเศรษฐกิจแพลตฟอร์มมากขึ้น นอกจากนี้คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมของสหภาพยุโรปยังได้ร่วมขับเคลื่อนสหกรณ์ และองค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) ยังได้ร่วมกันส่งเสริมให้เกิดรูปแบบสหกรณ์แพลตฟอร์มมากขึ้นอีกด้วย

          ในปัจจุบันเริ่มมีกิจการที่เป็นแพลตฟอร์มจำนวนมากที่รับแนวคิด และนำคุณค่าแกนกลางแบบสหกรณ์ มาปรับใช้ในกิจการกันอย่างแพร่หลาย แนวคิดสหกรณ์ที่คำนึงถึงการมีส่วนร่วม มีรูปแบบการตัดสินใจในนโยบายการดำเนินการด้วยการลงคะแนนเสียงแบบประชาธิปไตย และการคำนึงถึงผลกระทบเชิงบวกต่อสังคม เป็นกรอบคิดที่มีคุณค่าชุดเดียวกับ กรอบคิดเศรษฐกิจสังคมสมานฉันท์ (Social and Solidarity Economy - SSE)

pcc-logo-type-palette_edited.png

ความมุ่งมั่นต่อความหลากหลาย
และการไม่แบ่งแยก >

Email

ที่อยู่

กลุ่มวิจัยนวัตกรรมเพื่อสังคมสมานฉันท์

และเศรษฐกิจถ้วนถึงแห่งเอเชีย 

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

อาคารประชาธิปก-รำไพพรรณี ชั้น 7 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่

เขตปทุมวัน

กรุงเทพฯ 10330

ลงทะเบียนเพื่อรับ
ข้อมูลอัปเดตจากเรา

เราจะส่งอีเมลถึงคุณพร้อมข่าวสารและกิจกรรมล่าสุด
เดือนละครั้ง

ดีไซน์ที่ยังไม่ได้ตั้งชื่อ_edited.png

เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอย่างอื่น
เนื้อหาบนเว็บไซต์นี้ได้รับอนุญาต
ภายใต้สัญญาอนุญาต
Creative Commons Attribution Non-Commercial 3.0 สิทธิ์ที่อยู่
นอกเหนือขอบเขตของใบ
อนุญาตนี้มีให้สำหรับสหกรณ์

bottom of page