top of page

ฟรีแลนซ์ถือเป็นอาชีพมีข้อดีมากมาย ทว่าในทางหนึ่งก็มักจะถูกเอาเปรียบและคุกคาม เนื่องจากมีลักษณะการทำงานแบบปัจเจก จึงมักจะขาดพลังสนับสนุนขององค์กรที่มั่นคงหรือทรัพยากรทางการเงินเพื่อปกป้องผลงานของตนเองจากการถูกเอาเปรียบ รวมถึงการบังคับให้ได้รับเงินตรงเวลา ยกตัวอย่างเช่น ในปี 2017 ที่นครนิวยอร์ก 36% ของฟรีแลนซ์ รายงานว่าได้รับเงินล่าช้า และ 27% รายงานว่าได้รับเงินน้อยกว่าที่ตกลงกันไว้ 

 

ในขณะเดียวกัน กลุ่มแรงงานกลุ่มนี้เป็นกลุ่มคนที่สำคัญและมีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในระบบเศรษฐกิจ 

 

องค์กรบางแห่งได้ก่อตั้งขึ้นเพื่อช่วยเหลือและปกป้องฟรีแลนซ์ ตัวอย่างเช่น ในนครนิวยอร์ค สหภาพแรงงานฟรีแลนซ์ (Freelancers Union) มีบทบาทสำคัญในการผลักดันให้มีการออกกฎหมาย "Freelance Isn’t Free" ส่วนใน 9 ประเทศยุโรปมีเครือข่าย Smart.coop ช่วยเหลือฟรีแลนซ์ในการบรรเทาความกังวลเรื่องการไม่ได้รับเงินตรงเวลา รวมถึงภาระด้านบริหารจัดการการทำงานของฟรีแลนซ์ Smart.coop เสนอสิทธิประโยชน์ต่างๆ ที่มาพร้อมกับสถานะลูกจ้าง ประกันสุขภาพ และสิทธิ์ในการรับสวัสดิหากว่างงาน 

 

กระนั้นแล้วแพลตฟอร์มโคออป กำลังกลายเป็นอีกกลยุทธ์สำคัญในการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมการทำงานที่เอารัดเอาเปรียบของฟรีแลนซ์  โดยการรวมตัวกันของแรงงานผ่านแพลตฟอร์มด้านแรงงานที่พวกเขาเป็นเจ้าของและดำเนินงานร่วมกัน ฟรีแลนซ์สามารถรับงานพิเศษตามที่ต้องการ ในขณะเดียวกันก็สามารถแบ่งปันภาระงานและความต้องการด้านการบริหารจัดการ กฎหมาย และประกันสุขภาพร่วมกันได้ 

 

Stocksy United ในประเทศแคนาดา พิสูจน์ความสำเร็จของโมเดลนี้ ด้วยการเสนอให้ช่างภาพเป็นสมาชิกของแพลตฟอร์มโคออป ซึ่งพวกเขาสามารถร่วมเป็นเจ้าของผลงาน และมีส่วนร่วมในการบริหารแพลตฟอร์มผ่านเว็บไซต์ของตนโดยเฉพาะ  Stocksy United ยังเสนอการศึกษาต่อเนื่อง (continuing education) ให้กับสมาชิกอีกด้วย 

 

สำหรับอนาคต เราจำเป็นต้องเริ่มต้นสร้างรูปแบบการทำงานใหม่สำหรับฟรีแลนซ์ ไม่ว่าคุณจะเป็นคนขับ Uber ในแอฟริกาใต้ หรือไรเดอร์ส่งอาหารในฝรั่งเศส ก็สามารถเข้ามาสำรวจเว็บไซต์ PCC Thailand และเชื่อมต่อกับผู้ที่มีความคิดเห็นเหมือนกัน หรือเรียนรู้เกี่ยวกับกิจกรรมของเรา  พร้อมทั้งสำรวจข้อมูลต่างๆ ที่จะช่วยให้คุณจินตนาการถึงแพลตฟอร์มโคออป ในพื้นที่ของคุณได้ 

pcc-logo-type-palette_edited.png

ความมุ่งมั่นต่อความหลากหลาย
และการไม่แบ่งแยก >

Email

ที่อยู่

กลุ่มวิจัยนวัตกรรมเพื่อสังคมสมานฉันท์

และเศรษฐกิจถ้วนถึงแห่งเอเชีย 

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

อาคารประชาธิปก-รำไพพรรณี ชั้น 7 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่

เขตปทุมวัน

กรุงเทพฯ 10330

ลงทะเบียนเพื่อรับ
ข้อมูลอัปเดตจากเรา

เราจะส่งอีเมลถึงคุณพร้อมข่าวสารและกิจกรรมล่าสุด
เดือนละครั้ง

ดีไซน์ที่ยังไม่ได้ตั้งชื่อ_edited.png

เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอย่างอื่น
เนื้อหาบนเว็บไซต์นี้ได้รับอนุญาต
ภายใต้สัญญาอนุญาต
Creative Commons Attribution Non-Commercial 3.0 สิทธิ์ที่อยู่
นอกเหนือขอบเขตของใบ
อนุญาตนี้มีให้สำหรับสหกรณ์

bottom of page